นส.จุฑาทิพย์ ยัดไธสง คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น ชั้นปีที่3

25600624_๑๗๐๖๒๔_0015

Picture4Picture9

 

 

 

ทุกๆครั้งที่ทำค่าย   หรือมีการลงชุมชนในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ   ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ความยากลำบากของชาวบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการใช้สารเคมีปลูกผักเพื่อการค้า   ปัญหาการใช้ยาชุดเพื่อลดปวดเมื่อย
ปัญหาอันตรายจากการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ที่ขาดความรู้ของชาวบ้าน   ปัญหาด้านการศึกษาของเด็กผู้ยากไร้
โครงการให้ความรู้เรื่องลูกน้ำยุงลายและแจกทรายอะเบส   โครงการสนามเด็กเล่นสร้างเสริมพัฒนาการเพื่อน้อง
โครงการยืดเหยียดกล้ามเนื้อคลายปวดเมื่อยแบบวิถีไทย   ลดการใช้ยาชุด   ดิฉันมีความยินดีที่ทุกโครงการมีชาวบ้าน
มาเข้าโครงการมากมาย   มีการรับฟังด้วยความสนใจ

 

001

 

จากการที่ดิฉันได้มีโอกาสไปเข้าร่วม   นำเสนอนวัตกรรมในงาน  “สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”
ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)   ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี   เป็นผลงานนวัตกรรมที่มีชื่อว่า “สายเข็มขัดรักสะอาด คาดสะดวก”   ที่ใช้กับเด็กทารก    และเด็กวัยก่อนเรียนที่มีปัญหา   รับประทานอาหารทางปากไม่ได้  ต้องทำการผ่าตัดเพื่อใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง   เข็มขัดนี้จะช่วยรักษาความสะอาดแผลที่ใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง
เก็บรัดสายให้อาหารทางหน้าท้องไม่ให้ดึงรั้ง   ลดอุบัติเหตุสายหลุด   ต้องเข้าไปผ่าตัดเพื่อใส่สายใหม่   เมื่อผลงานได้มีการ   เผยแพร่ทางโซเซียลมีเดีย    ทำให้ได้รับความสนใจกลุ่มของพ่อแม่ที่ลูกมีปัญหานี้     มีตัวแทนพ่อแม่ประสานงานมายังอาจารย์ ดร.จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี    ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ให้ทุนสนับสนุน   ขอรับบริจาคเข็มขัดนี้มายังคุณแม่ของดิฉัน   ซึ่่งคุณแม่ก็ได้กรุณาเสนอเป็นคนช่วยตัดเย็บเข็มขัด    รักสะอาด คาดสะดวก    นี้ด้วยตัวเองรวมถึงได้มีการสร้างโมเดลต้นแบบ        ส่งไปให้กับรพ.ศรีนครินทร์   และรพ.ศูนย์ขอนแก่น   ได้นำไปเป็นต้นแบบในการตัดเย็บไว้ใช้แก่เด็กป่วยในรพ.อีกด้วย

 

 

 

 

อีกโอกาสหนึ่งที่ภาคภูมิใจ คือ ดิฉันผ่านเข้ารอบ   ในการประกวดการนำเสนอเรื่องวิทยาศาสตร์ในองค์ความรู้สาขา
คณะวิชาที่สังกัดโครงการ Frame Lab   โดยในรอบนี้มีผู้เข้ารอบจากการคัดเลือกทั่วประเทศจำนวน 20 คนสุดท้ายในรอบ
National audirion  โดยการนำเสนอจะเป็นการนำเสนอโดยใช้ภาษาอังกฤษ   เล่าเรื่องให้มีความน่าสนใจ ดิฉันจึงได้เล่าเรื่อง
ประสบการณ์ในการลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งซึ่งเป็นความปวดเรื้อรังในชื่อเรื่อง “Does pain is control or uncontrolled”

การนำเสนอในครั้งนี้ได้รับความสนใจ  ทั้งจากนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในสาขาต่างๆ   โดยเฉพาะด้านระบบประสาท ถือว่า
เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในเวทีระดับประเทศ   ที่เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากๆในชีวิต   ได้ถ่ายทอดความรู้ของสาขาวิชาชีพออกมา
ในแนววิทยาศาสตร์   เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลให้เป็นเรื่องง่ายสู่สาธารณชน

สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการแข่งขันในครั้งนี้ไม่ใช่ชัยชนะ   แต่เป็นการได้รับโอกาสในการโชว์  ความสามารถในทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
ทักษะการเชื่อมโยงองค์ความรู้   และเล่าเรื่องต่อหน้าสาธารณชน   ทักษะเหล่านี้ดิฉันยังทำได้ในระดับหนึ่ง   แต่ตั้งใจว่าจะพัฒนา
ต่อไปให้สามารถทำได้ดีขึ้น

 

Picture16

 

 

 

จากทุกๆความทุ่มเทนี้ทำให้ดิฉันได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น   ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น   นำความภาคภูมิใจมาสู่ดิฉัน
คณะพยาบาลศาสตร์   และครอบครัวของดิฉันด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

ทุกครั้งที่เหนื่อยหรือท้อดิฉันมักจะบอกตัวเองเสมอว่า   เรามีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ   มีกำลังกาย   กำลังใจ   แม้จะยังขาดกำลังทรัพย์
แต่ด้วยความอนุเคราะห์ของท่าน   ทำให้ดิฉันไม่คิดท้อถอยอีกแล้ว   และได้แปลงเปลี่ยนมาเป็นพลังใจในการเรียน  การทำงานเพื่อคณะ
เพื่อวิชาชีพพยาบาลในอนาคต   เท่าที่กำลังนักศึกษาอย่างดิฉันจะทำได้   และส่งต่อความหวังดีแบบนี้ให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสเช่นกันใน
อนาคต   ดิฉันจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนตลอดจน  พัฒนาตนเองเพื่อมาดูแลสุขภาพเพื่อนมนุษย์   หากมีสิ่งใดที่ดิฉันสามารถตอบแทน
หรือช่วยกิจกรรมของคุณแม่น้อยฯได้   ดิฉันยินดีที่จะร่วมมืออย่างสุดกำลัง ขอขอบพระคุณค่ะ

 

 

นส.จุฑาทิพย์ ยัดไธสง (น้องแอน)
นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์
ม.ขอนแก่น ชั้นปีที่3
ผู้รับทุนมูลนิธิคุณแม่น้อย จงสถิตย์วัฒนา
1 พฤษภาคม 2560